126
SHARE

5 ทักษะที่ต้องฝึกไว้ หากคุณอยากทำงานสาย Digital Content Writer

เมื่อโลกเปลี่ยนอะไรก็เปลี่ยน…

เพราะเรากำลังก้าวเข้าสู่ยุคของโลกดิจิทัล (Digital Age) อย่างเต็มตัว ซึ่งเป็นยุคที่แพลตฟอร์มต่างๆ บนโลกออนไลน์สามารถให้ข้อมูลกับผู้บริโภคได้หลากหลาย 

อาชีพ ‘นักเขียน’ ผู้ทำหน้าที่รังสรรค์งานแค่บนกระดาษบนโลกออฟไลน์ จึงต้องปรับตัวและ Reskills ของตัวเองกันใหม่ จนกลายมาเป็นอาชีพ Digital Content Writer หรือ Copy Writer ที่ต้อง Tranform งานเขียนตัวเองให้เป็นไปตามแพลตฟอร์มที่มีอยู่มากมายบนโลกออนไลน์ เพื่อให้เท่าทันพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงวิธีการรับข้อมูลข่าวสารไปอย่างรวดเร็ว

ดังนั้น ทักษะในการทำงานของ Digital Content Writer บนโลกออนไลน์จึงมีความแตกต่างกับนักเขียนที่ทำงานในแบบออฟไลน์เป็นอย่างมาก 

และถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่อยากจะลองก้าวเข้าสู่สายอาชีพ Digital Content Writer แบบจริงจัง ในฐานะของคนที่เคย Tranform รูปแบบการทำงานมาแล้ว เราเลยอยากจะมาแนะนำ 5 ทักษะอันแสนสำคัญที่จะช่วยทำให้คุณเป็น Digital Content Writer มืออาชีพได้ ก็หวังว่า บทควานี้จะเป็น Guidebook ที่ดีสำหรับการฝึกฝนทักษะที่จำเป็นสำหรับคุณนะคะ 🙂 

1. ทักษะด้านการเขียน

ไม่ว่าจะเป็นนักเขียนในโลกออนไลน์หรือออฟไลน์ ทักษะที่ขาดไม่ได้เลยก็คือ ทักษะด้านการเขียน แต่การจะเขียนให้ดีหรือเขียนให้โดนบนโลกออนไลน์ มันไม่ได้ต้องใช้ทักษะทางภาษาที่ต้องสละสลวย ถูกไวยากรณ์เหมือนกับการเขียนบนสิ่งสิ่งพิมพ์อย่างแต่ก่อน 

เพราะนี่คือโลกของแพลตฟอร์มที่เปลี่ยนไป เราไม่ได้จรดปากกาลงในกระดาษ แต่เรากำลังสื่อสารกับผู้อ่านพร้อมๆ กันได้ในหลากหลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นบน Social Media, Website, E-mail หรือแม้กระทั่งบน Chat เช่น Line และ Facebook Massenger เราก็สามารถทำ Content เพื่อสื่อสารกับพวกเขาได้

ดังนั้น รูปแบบของวิธีการเขียนและภาษาจึงต้องเปลี่ยนไปตามแพลตฟอร์มที่แตกต่าง เพื่อให้ผู้อ่าน หรือ User สามารถอ่านได้อย่างลื่นไหลและดึงให้เขาเหล่านั้นสนใจใน Content ที่เราจะเขียนได้มากขึ้น

การเขียน Content ของ Digital Content Writer
การเขียน Content ของ Digital Content Writer

 

เนื่องจากแต่ละแพลตฟอร์มต่างๆ มีเป้าหมายในการใช้งานที่แตกต่างกัน ดังนั้น สิ่งที่เขียนจึงจำเป็นต้องจัดรูปแบบการนำเสนอให้น่าสนใจตามจุดประสงค์และกลุ่มเป้าหมายที่กำลังใช้แพลตฟอร์มนั้นๆ 

นอกจากนี้ Digital Content Writer หรือ Copy Writer ยังต้องเอาชนะข้อจำกัดด้านการเขียน เช่น การจำกัดตัวอักษรของบางแพลตฟอร์ม, การจัดวางย่อหน้าที่ต้องอ่านง่ายทั้งใน Mobile และ Desktop, การเขียนข้อความประกอบบนรูปภาพ ฯลฯ  ด้วยเทคนิคการเขียนต่างๆ ดังนี้ 

  • Copywriting 

ส่วนใหญ่มักเป็นรูปแบบงานเขียนสั้นๆ เน้นความกระชับ เข้าใจง่าย ตรงประเด็น เพื่อดึงดูดความสนใจและกระตุ้นให้ผู้อ่านเกิดการกระทำบางอย่าง ซึ่งเราจะสามารถพบเห็นการเขียนรูปแบบนี้ได้บน Social Media, E-mail, Banner, Landing page เป็นต้น

  • Content Writing 

เป็นรูปแบบงานเขียน Long Form ที่ต้องการเน้นการนำเสนอถึงเนื้อหา เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ, สร้างภาพลักษณ์ของแบรนด์, ให้ข้อมูลสนับสนุนในการตัดสินใจ และให้คำตอบของปัญหาที่ข้องใจบางอย่าง ซึ่งการเขียนแบบ Content Writing จะปรากฏอยู่ในรูปแบบของ บทความ, ข่าว, Blog, E-book, Whitepaper เป็นต้น

2. ทักษะด้านการตลาดออนไลน์

นอกจากทักษะการเขียนที่ต้อง Reskill กันครั้งใหญ่แล้ว การทำงานในสาย Digital Content Writer ยังต้องสร้างองค์ความรู้ที่เป็น Hard Skills เฉพาะทางที่ใช้ในการทำงานบนโลกดิจิทัลเพิ่มอีกด้วย

ซึ่งทักษะหนึ่งที่จำเป็นเลยก็คือ ทักษะด้านการตลาดออนไลน์ (Digital Marketing) เพราะจริงๆ แล้ว เราไม่ได้ทำหน้าที่แค่เขียนเพียงอย่างเดียว แต่เราจะต้องมีมุมมองแบบ Marketing และ Media อยู่ในคนเดียวกัน 

ตัวอย่างทักษะในสายอาชีพ
ตัวอย่างทักษะในสายอาชีพ

 

โดยทักษะด้านการตลาดออนไลน์จะช่วยทำให้เราสร้างสรรค์ Content ออกมาให้ตรงกับความต้องการของ User จากการทำความรู้จักว่า พวกเขาเป็นใคร, ชอบอะไร, มี Experience แบบไหน, เราจะเข้าถึงพวกเขาได้อย่างไร และสร้าง Buyer’s Journey หรือเส้นทางการตัดสินใจหาหนทางแก้ไขปัญหา ไปจนถึงเปลี่ยนพวกเขาจากสถานะของ User ให้กลายมาเป็นลูกค้า หรือ Customer ได้อย่างถูกที่และถูกเวลามากที่สุด

3. ทักษะด้านเว็บไซต์

ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงให้ไปเรียนรู้วิธีการเขียนโค้ดเหมือนกับโปรแกรมเมอร์ แต่หมายถึงให้พัฒนาทักษะด้านการเขียนและการ Optimize บทความบนเว็บไซต์ให้ติดอันดับบนหน้า Google ด้วยวิธีการทำ SEO

ตัวอย่างของการทำ SEO
ตัวอย่างของการทำ SEO

 

สำหรับใครที่ยังไม่รู้ว่า SEO คืออะไร? อธิบายให้เข้าใจง่ายๆ เลยก็คือ วิธีการทำเว็บไซต์ให้ Google ชอบ และจัดอันดับของเว็บไซต์ของเราให้ขึ้นอยู่ในหน้าแรกๆ ของระบบการค้นหา (Search Engine) 

ซึ่งการทำ Content จะช่วยทำให้คนสามารถเจอเว็บไซต์ของเราได้ง่ายขึ้นจากใส่ Keyword ที่มีคนนิยมค้นหาลงไปในบทความ แต่แค่นั้นยังไม่พอ เพราะมันยังมีรายละเอียดปลีกย่อยอีกมากด้านการเขียนที่ต้องเรียนรู้ ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนชื่อรูปภาพ, การทำ Alt, การกำหนด Title & Description หรือ Heading ต่างๆ ฯลฯ ที่ต้องใช้เวลาศึกษา เพื่อทำให้งานเขียนของเราสามารถติดอันดับอยู่บนหน้า Google ได้มากยิ่งขึ้น

ถ้าหากสนใจจะศึกษาเรื่อง SEO เพิ่มเติมในเว็บไซต์ของ Magnetolabs ก็มีบทความอธิบายพื้นฐานเพื่อสร้างความเข้าใจในเรื่อง SEO สามารถกดอ่านต่อได้เลยที่ : SEO คืออะไร? อธิบายง่ายๆ ให้คนไม่รู้เรื่องอ่านรู้เรื่อง

4. ทักษะด้านการวิเคราะห์ข้อมูล

เคยได้ยินสุภาษิตนี้ไหมคะ ‘รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง’

ในโลกดิจิทัลเรื่องของการรู้จักตัวตนของกลุ่มเป้าหมายผ่านการเก็บข้อมูล หรือ Data เองก็เป็นเรื่องสำคัญที่จะทำให้งานเขียนของเรากลายเป็นที่ผลงานที่น่าจดจำ เนื่องจากช่วยแก้ไขปัญหาและตอบคำถามในสิ่งที่พวกเขาอยากรู้ได้อย่างถูกจุด

แต่ก่อนที่งานเขียนของเราจะมีผลลัพธ์ที่ดี และช่วยแก้ปัญหาให้กับ User ได้ขนาดนั้น สิ่งที่ Digital Content Writer หรือ Copy Writer จะต้องเรียนรู้และทำความเข้าใจให้ดีก่อนคือ การวิเคราะห์ข้อมูลของกลุ่มเป้าหมายให้ถูกต้อง ซึ่งเราสามารถเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้ได้จากการติดตั้งเครื่องมือพื้นฐานอย่าง Google Analytic และ Search Console 

ตัวอย่างข้อมูลจาก Google Analytic
ตัวอย่างข้อมูลจาก Google Analytic

 

โดยเครื่องมือพื้นฐานเหล่านี้จะช่วยทำให้เราเข้าถึงข้อมูลต่างๆ บนเว็บไซต์ได้อย่างละเอียด ตั้งแต่จำนวนคนเข้าชมเว็บไซต์ ไปจนถึงระยะเวลาการใช้เว็บไซต์โดยเฉลี่ย ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จำเป็นต่อการนำมาวิเคราะห์และ Optimize บทความให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ส่วนวิธีการวิเคราะหฺ์ข้อมูลก็ต้องอาศัยพื้นฐานการอ่านค่าข้อมูลต่างๆ รู้ว่าเลขแต่ละตัวหมายถึงอะไร และสัมพันธ์กับกลุ่มเป้าหมายของเราอย่างไรบ้าง เพื่อหาทางแก้ไขและปรับปรุงงานเขียนของเราให้ดีขึ้นไปอีก

ยกตัวอย่างเช่น การที่หน้า Content หนึ่งบนเว็บไซต์มีค่า Bounce Rate สูงถึง 95% นั่นหมายความว่า Content ในหน้านั้นมีคุณภาพที่ยังไม่ดี ยังไม่โดนใจคนอ่านมากพอให้คลิกไปหน้าอื่นๆ หรือเรายังทำ Relevant Content ที่คอนเทนต์เชื่อมโยงยังไม่มากพอ จึงจำเป็นต้องปรับแก้ไขเนื้อหาบทความให้ดีขึ้น เป็นต้น

* Bounce Rate หมายถึง สัดส่วนของการเข้าชมเว็บไซต์เพียงหน้าเดียว พูดให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ อัตราส่วนของคนคลิกเข้ามาอ่าน Content บนเว็บไซต์เรา แล้วอ่านอยู่แค่หน้าเดียว หลังจากนั้นก็ปิดไปไม่อ่านหน้าอื่นต่อ

5. ทักษะด้านการใช้เครื่องมือ

โลกดิจิทัลเป็นโลกที่เต็มไปด้วยเครื่องมือจำนวนมหาศาล เราสามารถเป็นทั้งนักเขียน กราฟฟิก ช่างภาพ นักการตลาด ไปจนถึงคนทำเว็บไซต์ได้ด้วยตัวคนเดียวเลยด้วยซ้ำ ถ้าหากเรารู้จักวิธีการใช้เครื่องมือที่มีอยู่บนโลกออนไลน์ให้ชำนาญมากพอ

หน้าต่างเขียนบทความและเครื่องมือต่างๆ บน WordPress.com
หน้าต่างเขียนบทความและเครื่องมือต่างๆ บน WordPress.com

 

ยกตัวอย่างเครื่องมือที่จำเป็นสำหรับนักเขียนมือใหม่ที่อยากจะฝึกเขียนบทความในรูปแบบ Content Writing ลงบนเว็บไซต์ เราขอแนะนำให้ศึกษาวิธีการสร้าง Website ง่ายๆ ผ่านระบบ CMS (Content Management System) ไม่ว่าจะเป็น WordPress, Drupal หรือ Joomla ซึ่งเครื่องมือทั้งหมดนี้จะช่วยให้คุณเข้าใจการทำงานของเว็บไซต์ต่าง ๆ และรู้ด้วยว่าจะทำ Content อย่างไรให้เว็บไซต์นั้นได้ผลขึ้นมาอีกด้วย

ถ้าคุณสนใจการสร้างและการออกแบบเว็บไซต์ด้วย WordPress เราขอแนะนำให้คุณลองดูในบทความ วิธีการสร้างเว็บไซต์ ด้วย WordPress ทำเว็บไซต์เอง คุณเองก็ทำได้ (สอนแบบจับมือทำ) จาก Content Shifu โดยบทความนี้จะสอนตั้งแต่ขั้นที่ 0 – 100 ให้คุณสร้างเว็บไซต์สวยๆ ไว้ลองฝึกทุกทักษะที่จำเป็นสำหรับงานสาย Digital Content Writer ที่กล่าวมาทั้งหมดได้เลยค่ะ

สรุป

จะเห็นได้ว่า อาชีพ Digital Content Writer ต้องอาศัยทักษะหลายด้านที่แตกต่างจากการทำงานเขียนออฟไลน์ในอดีต ดูแล้วอาจจะเป็นเรื่องยาก แต่ถ้าหากค่อยๆ สะสมองค์ความรู้และวิธีการทำ Content ต่างๆ พร้อมทั้ง ‘ลงมือทำ’ จริงไปเรื่อยๆ ก็จะช่วยทำให้เรามีทักษะทั้งหมดที่ว่ามาได้ และกลายเป็น Digital Content Writer ที่ก้าวหน้าในสายอาชีพนี้ได้อย่างเต็มภาคภูมิแน่นอนค่ะ 🙂

New call-to-action

New call-to-action

Author

Supawan

เป็น Digital Content Writer ผู้ชื่นชอบแมวและการอ่านหนังสือเป็นชีวิตจิตใจ เราเชื่อว่า การพัฒนาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต และความผิดพลาดคือบทเรียนหนึ่งที่ทำให้เราเติบโต :)
เป็น Digital Content Writer ผู้ชื่นชอบแมวและการอ่านหนังสือเป็นชีวิตจิตใจ เราเชื่อว่า การพัฒนาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต และความผิดพลาดคือบทเรียนหนึ่งที่ทำให้เราเติบโต :)

Related Blog

Leave Your Comment