14
SHARE

เรียนรู้ “ภาษาโปรแกรมเมอร์” ศัพท์เทคนิคที่คุณควรรู้

หากต้องการสร้างเว็บไซต์ให้เป็นไปตามที่เราต้องการ มันหลีกเลี่ยงไม่ได้เลยที่จะต้องคุยกับโปรแกรมเมอร์ และแน่นอนเมื่อคุณคุยกับโปรแกรมเมอร์จะเจอศัพท์เทคนิคมากมายฟังแล้วไม่ค่อยจะเข้าใจเท่าไหร่นัก มาดูกันเลยดีกว่าว่าในการทำเว็บไซต์ นอกเหนือจากคำศัพท์จากดีไซน์เนอร์ที่ใช้ในการออกแบบเว็บไซต์แล้วเรายังจำเป็นต้องรู้ศัพท์เทคนิคในภาษาโปรแกรมเมอร์อะไรบ้าง

10+1 คำศัพท์เทคนิค​ “ภาษาโปรแกรมเมอร์” ที่คุณควรรู้

Hosting

Hosting ก็คือ บริการรับฝากเว็บไซต์ และในการรับฝากเว็บไซต์ก็จะแตกย่อยออกมาได้อีก

  • Shared Host ลักษณะของ Shared Host คือ จะแบ่งพื้นที่ในเครื่องเซิร์ฟเวอร์เป็นหลายๆเว็บ นั่นหมายความว่า ทุกอย่างแชร์กัน ถ้ามี เว็บไหน ใช้ทรัพยากรมาก จนทำให้เซิร์ฟเวอร์ล่ม จะทำเว็บทั้งหมดล่มตามไปด้วย
  • VPS ย่อมาจาก Virtual Private Server คือ เป็นเครื่องเซิร์ฟเวอร์จำลองอยู่บนเครื่องจริงอีกที   เหมาะสำหรับเว็บที่มีทราฟฟิกเยอะ เกินกว่า Shared host จะรับไหว หรือต้องการใช้ความสามารถพิเศษอื่นๆที่ Shared host ไม่สามารถทำได้
  • Dedicated Server คือการเช่าพื้นที่จริงๆ ที่ Data center เพื่อวางเครื่องเซิร์ฟเวอร์ของตัวเอง ซึ่งต้องมีความเชี่ยวชาญระดับสูง ในการตั้งค่า ให้รองรับทราฟฟิกปริมาณมากๆ และเหมาะสมสำหรับงานเฉพาะด้าน

Domain Name

เมื่อเรามี Host แล้ว เราจะได้ IP Address มาเป็นตัวเลข 1 ชุดประมาณ 15 ตัว ขนาดเบอร์โทรศัพท์ยังจำกันไม่หมดเลย ก็เลยต้องมีการจดโดเมนเนม (.com / .net / .org ) แล้วชี้ไปยัง IP ของเซิร์ฟเวอร์เรา เสร็จแล้วทีนี้ผู้คนก็จะสามารถเข้าเว็บผ่าน Domain name ได้แล้ว แต่ถ้าเราเช่า Host แบบ Shared host ผู้ให้บริการจะ บอก Name server (NS) มาให้เราไปเซ็ท โดเมนให้ใช้มาที่ Name server ของผู้ให้บริการ Hosting ดูแล้วปวดหัว? แต่ไม่ต้องกังวลไป ส่วนใหญ่แล้ว ผู้ให้บริการ Hosting จะมีบริการจดโดเมน และตั้งค่าให้พร้อมใช้งานอยู่แล้ว ก็สบายใจได้เลย

FTP คืออะไร?

ย่อมาจาก File Transfer Protocol ซึ่งเป็นช่องทางในการส่งไฟล์ไปยังเซิร์ฟเวอร์ ของเรานั่นเอง จะเจอในกรณีโปรแกรมเมอร์จะอัพโหลดไฟล์เว็บ ไปยังเซิร์ฟเวอร์ โดยจะมีคำถามประมาณนี้

  • ผมขอ Username และ Password ของ FTP หน่อยครับ
  • ไฟล์ใหญ่เกินไปอัพโหลดผ่านระบบหลังบ้านไม่ได้ ต้องอัพโหลดผ่าน FTP ครับ

ซึ่งข้อมูลการเข้าในงาน FTP นี้ ผู้ให้บริการ Hosting จะส่งเมล์มาให้ตอนที่เราสั่งซื้อ

HTTP + SSL = HTTPS

เรียนรู้ ภาษาโปรแกรมเมอร์ ศัพท์เทคนิคที่คุณควรรู้

HTTP คือ ช่องทางในการส่งข้อมูลที่เป็นไฟล์ HTML CSS รูปภาพ  ระหว่าง เบราเซอร์ และ เซิร์ฟเวอร์ แต่ข้อมูลที่ส่งผ่านทาง HTTP นั้นยังไม่มีความปลอดภัย สามารถโดนดักข้อมูลกลางทางได้ ก็เลยต้องมี SSL มาเข้ารหัสข้อมูลก่อนที่จะ รับ-ส่ง 

SSL ย่อมา Secure Socket Layer ศัพท์เทคนิคเยอะ เราข้ามไป เอาเป็นว่าเจ้า SSL มันทำให้เราเชื่อมต่อได้อย่างปลอดภัย ทีนี้ก็เอา HTTP มาครอบด้วย SSL ก็กลายมาเป็น HTTPS นั่นเองครับ

ไม่ใช้ HTTPS ได้ไหม?

เราจะไม่ใช้ก็ได้ครับ แต่เว็บที่มี HTTPS จะทำให้คนที่มาใช้บริการเว็บเรานั้นรู้สึกปลอดภัย และน่าเชื่อถือมากกว่า หรือจะเรียกได้ว่า

“เข้าเว็บได้เหมือนเดิม เพิ่มเติมคือปลอดภัย”

HTML / CSS / JS / Bootstrap

เรียนรู้ ภาษาโปรแกรมเมอร์ ศัพท์เทคนิคที่คุณควรรู้

HTML เป็นภาษาที่ใช้สำหรับสร้างโครงสร้างของเว็บ

CSS จะมาช่วยเรื่องการจัดรูปแบบให้สวยงามเป็นไปตามการออกแบบของดีไซน์เนอร์

JS หรือ Javascript จะใช้ในการจัดการกับลูกเล่นต่างๆภายในเว็บไซต์

Bootstrap เป็น CSS Framework รวบรวมคำสั่งต่างๆที่จำเป็น เพื่ออำนวยความสะดวกให้โปรแกรมเมอร์ ในการสร้างเว็บไซต์

และทั้งหมดนี้คือ Client Side Script เป็น Script ที่สามารถรันในฝั่งผู้ใช้ได้ (ใช้ Web Browser เปิด)

Server Side Script (PHP, JSP, NodeJS, …)

หากเว็บไซต์ของเรามีความจำเป็นต้อง เพิ่ม ลบ ข้อมูล หรือทำแบบฟอร์มเก็บข้อมูล แล้วดึงข้อมูลมาแสดงได้นั้น จำเป็นต้องใช้ Server Side Script หรือ Script ที่ทำงานทางฝั่งเซิร์ฟเวอร์

ภาษาโปรแกรมมิ่งที่สามารถทำงานทางฝั่งเซิร์ฟเวอร์ มีหลายตัวมาก อาทิเช่น PHP, ASP, JSP, NodeJS, Go คือภาษาพวกนี้จะ ประมวลผลคำสั่งทางฝั่งเซิร์ฟเวอร์ แล้วส่งเป็น HTML กลับมายัง Web browser เพื่อนแสดงผลให้ผู้ใช้เห็น

Database (MySQL, MariaDB)

เดต้าเบส หรือ ฐานข้อมูล ก็ตามชื่อของมันเลยครับ มีไว้เก็บข้อมูล แต่เราจะดึงออกมาตรงๆเลยไม่ได้ ต้องมีการเขียนโปรแกรม ฝั่งเซิร์ฟเวอร์ (Server Side Script) เพื่อดึงข้อมูลออกมา เดต้าเบสก็จะมีหลายเจ้า หลายแบบ ต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับงาน ซึ่งเว็บไซต์ส่วนใหญ่ก็จะเลือกใช้ MySQL หรือ MariaDB

WordPress

WordPress คือ แอพพลิเคชั่น ในรูปแบบ Content Management System ที่ถูกสร้างขึ้นมาจาก PHP (Server Side Script) และใช้ MySQL ในการเก็บข้อมูล ใช้สำหรับการจัดการเนื้อหาภายในเว็บไซต์ สมมติว่า คุณต้องการสร้างบ้านสักหนึ่งหลัง WordPress มีเสา มีกำแพง มีหน้าต่าง มีหลังคา มีส่วนประกอบต่างๆ มาให้ เหลือแค่คุณประกอบมันเข้าด้วยกัน (ไม่ต้องไปหล่อเสา ตัดไม้เอง) คุณจะทำให้มันออกมาเป็นแบบไหนก็ได้ตามใจนึก (แต่ต้องทำเป็นด้วย)

Caching หรือ แคช

แคชคืออะไร? แคชคือการเก็บข้อที่ถูกประมวลผลแล้ว ไม่ค่อยถูกเปลี่ยนแปลง และถูกเรียกใช้บ่อยๆ มาเก็บไว้ใกล้ๆ ผู้ใช้มากที่สุด(ในเบราเซอร์) นั่นหมายความว่าจะได้ความเร็วเพิ่มขึ้นนั่นเอง

เว็บเบราเซอร์ ในปัจจุบันก็มีความสามารถนี้กันอยู่แล้ว ยิ่งเป็นสมาร์ทโฟน จำเป็นต้องมีระบบแคช เพราะว่ามีข้อจำกัดทางด้านเครือข่าย(การรับส่งข้อมูล) ที่มีการคิดค่าใช้จ่ายตามการใช้งาน เมื่อลดการเรียกไปยังเซิร์ฟเวอร์ ก็จะทำให้ เร็วขึ้น ประหยัดมากขึ้น แล้วก็มี Cache อีกรูปแบบหนึ่งที่อยู่ทางฝั่งเซิร์ฟเวอร์ หลัการทำงานคล้ายๆกัน ซึ่งจะเพิ่มความสามารถของเซิร์ฟเวอร์ ในเรื่อง Performace ได้เหมือนกัน

Clear cache หรือยังครับ?

เรียนรู้ ภาษาโปรแกรมเมอร์ ศัพท์เทคนิคที่คุณควรรู้

ประโยคนี้จะเจอในกรณีที่ โปรแกรมเมอร์แก้เว็บแล้ว ส่งให้ลูกค้าทดสอบ แต่ลูกค้าเห็นว่ายังไม่ได้แก้ โปรแกรมเมอร์ก็จะถามว่า เคลียร์แคชหรือยังครับ? 

ทางลูกค้าก็ต้องเคลียร์แคชครับ เพราะว่า เว็บเบราเซอร์ยังเอาข้อมูลชุดเก่ามาแสดงผลอยู่ ถ้าเคลียร์แคชเสร็จ รีเฟรชหน้าเว็บอีกครั้ง เว็บเบราเซอร์ก็จะไปดึงข้อมูลชุดใหม่จากเซิร์ฟเวอร์มาครับ เมื่อแก้ไขเว็บเสร็จแล้ว อย่าลืมเคลียร์แคช นะครับ

สุดท้ายแล้วสำหรับ ภาษาโปรแกรมเมอร์ นั้นยังมีคำศัพท์อีกมากมาย ถ้าคำศัพท์ไหน ไม่คุ้นหูหรือไม่เข้าใจก็ถามโปรแกรมเมอร์ได้เลยครับ เพื่อความเข้าใจที่ตรงกัน จะได้ผลงานที่ออกมาถูกใจ

 

Author

Sirachon

Full Stack Developer ของ Magnetolabs ชื่นชอบการวิ่งและอาหารคลีนมากพอๆ กับการเขียน Code ชอบเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ๆ ฟัง Podcast และอ่านหนังสือ
Full Stack Developer ของ Magnetolabs ชื่นชอบการวิ่งและอาหารคลีนมากพอๆ กับการเขียน Code ชอบเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ๆ ฟัง Podcast และอ่านหนังสือ

Related Blog

Leave Your Comment