66
SHARE

ออกแบบ Core Value ของบริษัทด้วย Culture Canvas

Core Value เปรียบเสมือนที่ยึดเหนี่ยวจิตใจให้กับบริษัท เวลามีเรื่องที่ต้องตัดสินใจหรือเจอปัญหาขึ้น Core Value จะเป็นตัวบอกว่าสิ่งที่คุณควรจะทำคืออะไร

ก่อนหน้านี้ Core Value ของเราคือ Excellence, Learning, Sharing และ Integrity แต่มันเป็นสิ่งที่ผมและผู้บริหารของ Magnetolabs อีก 2 คนกำหนดขึ้นมาเอง คนในทีมไม่ได้มีส่วนร่วม ซึ่งส่งผลให้ทีมเองอาจจะไม่เห็นภาพและอาจจะไม่ “อิน”

เราเลยคิดใหม่ทำใหม่ จับเอา Framework ที่ชื่อว่า Culture Canvas ที่คิดค้นโดยบริษัท Brightside People มาใช้และทำให้ทุกคนมีส่วนร่วม

ซึ่งตัว Core Value ใหม่ที่ออกมาของบริษัทเราคือ Excellence, Learning, Ownership และ Big Picture ที่ทีมบริหารและทีมงานเชื่อตรงกันว่าดีและจะทำให้เราไปต่อได้ในธุรกิจสาย Digital Marketing

ในบทความนี้ผมจะมาเล่า มาแชร์ให้คุณได้อ่านถึงขั้นตอนการทำ Culture Canvas ของบริษัทเรา เผื่อว่าคุณจะได้หยิบเอา Culture Canvas นี้ไปใช้กับบริษัทของคุณบ้าง รับรองว่ามีประโยชน์ครับ

Note: ในส่วนของคำว่า Integrity (ความซื่อสัตย์ ความมีสำนึกว่าจะทำในสิ่งที่ถูกต้องตามคุณธรรมและจริยธรรม) ที่มันหายไปจาก Framework ใหม่ จริงๆ แล้วมันไม่ได้หายไปไหน พวกเราเองเชื่อว่า Integrity เป็นสิ่งพื้นฐานที่เราต้องมีกับลูกค้า คู่ค้า บริษัท และเพื่อนร่วมงานทุกคนอยู่แล้ว

Culture Canvas คืออะไร?

Culture Canvas คือ Canvas 1 แผ่นที่เชื่อมต่อ Culture ในมุมมองของ Leader กับ Employee เข้าด้วยกันโดยอิงจาก Vision, Core Business และ Customer Segment ของบริษัท

คุณสามารถเข้าไปดาวน์โหลด Culture Canvas นี้และคำอธิบายในการใช้โดยละเอียดได้ที่เว็บไซต์ของบริษัท Brightside People เลยครับ

ขั้นตอนในการทำ Culture Canvas

1. ใส่ข้อมูล Strategic Foundation

ในขั้นนี้ ทีมผู้บริหารจะต้องใส่ข้อมูลเกี่ยวกับ Key Business (รูปแบบธุรกิจหลักที่บริษัทดำเนินอยู่) Customer Segment (กลุ่มลูกค้า) Value Proposition (คุณค่าที่ส่งมอบให้ลูกค้า) และ Vision (วิสัยทัศน์) ก่อน ถ้าคุณมีข้อมูลเหล่านี้ใน Business Model Canvas แล้วคุณก็สามารถเอามาใส่ตรงส่วนนี้ได้เช่นกันครับ

2. ผู้บริหาร (Leader) ใส่ Company Values

ในขั้นนี้ทีมผู้บริหารจะต้องทำการนัดพูดคุยกันเพื่อถกว่า Values (Culture) ของบริษัทคืออะไร ซึ่งภายใน Culture Canvas จะแบ่งเป็น 2 ช่องคือ Current กับ Desire

Current คือ Value (Culture) ปัจจุบันของบริษัท

Desire คือ Value (Culture) ที่อยากให้บริษัทมี

โดยใน Culture Canvas จะมี Value Bank ให้เลือก 3 แบบคือ A, B และ C (เท่าที่เข้าใจคือแบบ A จะเป็นแบบ Strategic ที่สุด ส่วนระดับ C จะเป็นเรื่องของ Day-to-day ที่สุด)

ผมแนะนำว่าใน Value Bank ทั้ง 3 แบบ คุณควรจะเลือก Value มาไม่เกิน 10 ตัว (เฉลี่ยให้แต่ละแบบมีปริมาณไม่ต่างกันมากนัก)

3. ทีม (Employee) ใส่ Company Values

ในขั้นนี้ทีมงานจะต้องทำ Workshop กันเพื่อพูดคุย Value ในแบบเดียวกับที่ผู้บริหารทำ

4. รวบรวมและวิเคราะห์ Value จาก Leader และ Employee

ในขั้นนี้ทีมผู้บริหาร (Leader) และอาจจะมี HR ด้วย จะต้องเอาข้อมูลที่ได้จาก Session ทั้งของ Leader และ Employee มาพูดคุยกัน และหยิบเอาสิ่งที่ทั้งผู้บริหารและทีมเห็นพ้องตรงกันมา Map กันและทำเป็น Core Value

คำแนะนำในการทำ Culture Canvas

1. ผู้บริหารอย่า Run Session ของทีมงานเอง

ถ้าคุณอยากได้ความคิดเห็นเกี่ยวกับ Current และ Desire Value อย่าง “จริงใจ” และ “จริงจัง” ผู้บริหารไม่ควรจะลงมา Run Session ด้วยตัวเองเพราะทีมงานอาจจะไม่กล้าพูดในสิ่งที่คิด

สิ่งที่ผมแนะนำคือคือคุณควรที่จะให้ HR ของคุณมา Run Session นี้ให้กับคุณ เพราะ HR เองก็เป็นหนึ่งในทีม (Employee) เช่นเดียวกันและโดยปกติแล้วหน้าที่ของ HR นั้นต้องเป็นเหมือน Bridge ในการสื่อสารระหว่างทีมบริหารกับทีมงานอยู่แล้ว

2. แบ่งเป็นกลุ่มเล็กๆ และจำกัดเวลาให้ดี

ยิ่งคนเยอะ การพูดคุยก็จะยิ่งเยอะตาม

ในเคสต์ของพวกเรา พวกเราเลือกแบ่ง Session ออกเป็น Session ละประมาณ 7-8 คน โดยที่ในตอนที่ HR ของเรา Run Workshop ครั้งแรก Workshop เริ่มเวลาบ่ายโมงแต่กว่าจะเสร็จก็เกือบๆ 1 ทุ่ม (ตอนแรกเราคิดว่าไม่เกิน 3 ชั่วโมงน่าจะเรียบร้อย) แต่ในครั้งถัดๆ มา HR ของเราก็คุมเวลาให้อยู่ระหว่าง 2-3 ชั่วโมงได้

ซึ่งเทคนิคในข้อนี้คือต้องแจ้งให้ชัดตั้งแต่ก่อนเร่ิมว่าจะมีเวลาทั้งหมดเท่าไหร่ และระหว่าง Session ถ้าครบกำหนดเวลาที่ตั้งไว้แล้ว ต้องตัดจบทันที

3. Core Value ไม่จำเป็นต้องเหมือนกันไปทั้งหมด

มุมมองที่ระหว่างผู้บริหาร (Leader) และทีม (Employee) อาจจะไม่เหมือนกันทั้งหมด (และจริงๆ แล้วมันแทบไม่มีทางที่จะเหมือนกันทั้งหมด)

ในความคิดเห็นของผม ผมคิดว่าคุณสามารถหยิบส่วนที่เหมือนกันมาสัก 70-80% มาเพื่อทำเป็น Core Value ได้ ส่วนที่เหลืออีก 20-30% ผู้บริหารอาจจะต้องเป็นคนที่กำหนด Value ที่อยากให้เกิดขึ้นในบริษัท

4. ทำเสร็จแล้วต้องประกาศใช้

Core Value ถ้าทำเสร็จแล้วไม่ถูกประกาศให้ทราบโดยทั่วกันก็เหมือนกับว่า Core Value เหล่านั้นไม่มีอยู่จริง

ผมแนะนำให้คุณลองหา Session ที่ทุกๆ คนในบริษัทอยู่พร้อมกัน (เคสต์ของเราจะเป็น Townhall Meeting ที่จะมีการจัดทุกไตรมาส) และประกาศ Core Value พร้อมกับอธิบายความหมายให้ทุกคนในบริษัททราบ

สรุป

และนี่ก็แนวทางการทำ Core Value ที่ทางบริษัทของเราใช้และได้ผลลัพธ์ที่ดีและน่าสนใจนะครับ

คุณสามารถเอาวิธีการที่ผมแชร์ในบทความนี้ไปลองปรับใช้กับบริษัทของคุณได้

ได้ผล ไม่ได้ผลยังไง หรือมีวิธีการอื่นมาแชร์เพิ่มเติม มาพูดคุยกันต่อได้ในคอมเมนต์เลยนะครับ 🙂
New call-to-action

New call-to-action

Author

Sitthinunt

Managing Partner ของ Magnetolabs หลงใหลในเรื่อง Inbound Marketing หรือการตลาดแบบแรงดึงดูด เวลาว่างจากการเขียนคอนเทนต์ หรือตั้งค่า Marketing Funnel มักจะอ่านหนังสือ บน Kindle อันเล็กๆ หรือไม่ก็ฟังนักธุรกิจ/นักการตลาดคนโปรดคลุกเรื่องเล่าเคล้าเรื่องราวบน Podcast
Managing Partner ของ Magnetolabs หลงใหลในเรื่อง Inbound Marketing หรือการตลาดแบบแรงดึงดูด เวลาว่างจากการเขียนคอนเทนต์ หรือตั้งค่า Marketing Funnel มักจะอ่านหนังสือ บน Kindle อันเล็กๆ หรือไม่ก็ฟังนักธุรกิจ/นักการตลาดคนโปรดคลุกเรื่องเล่าเคล้าเรื่องราวบน Podcast

Related Blog

2 Comments

  • Nattamon Limthanachai
    # มกราคม 4, 2021
    Reply

    อยากให้ แนะนำ คนที่มา เป็น moderator ทำ core value ให้ที่บริษัทค่ะ

    • Sitthinunt
      # มกราคม 5, 2021
      Reply

      แนะนำให้ไปคุยกับทาง Brightside People ได้เลยครับ 🙂

Leave Your Comment