Call-to-Action
SHARE

Call to Action คืออะไร? พร้อมเทคนิคออกแบบให้โดดเด่นเห็นเป็นต้องคลิก!

ทำอย่างไรจึงจะดึงความสนใจจากผู้ชม (Audience) ได้? คำตอบนั้นก็คือ Call to Action หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า CTA

บทความนี้ Magnetolabs จะมาแนะนำให้คุณรู้จักกับ Call to Action ว่ามีความสำคัญอย่างไร และมีเทคนิคแบบไหนที่จะปรับให้ CTA มีความโดนเด่น เห็นแล้วเป็นต้องคลิก!

ทำความรู้จัก Call to Action สิ่งนี้มีความสำคัญอย่างไร

สำหรับใครที่อยู่ในวงการ Digital Marketing อาจจะคุ้นเคยกับคำว่า Call to Action กันดีอยู่แล้ว แต่เราจะขออธิบายความหมายของมันกันอีกสักรอบหนึ่ง เพื่อเป็นการแนะนำให้ผู้ที่ยังไม่เคยรู้จักกับสิ่งนี้มาก่อน และเพื่อเป็นการทบทวนตัวเองไปพร้อมๆ กัน

“สร้าง Action ที่มากกว่าแค่รับรู้”

Call to Action หากพูดถึงเฉยๆ ก็อาจจะไม่เห็นภาพ แต่ถ้าบอกว่าเป็นปุ่มต่างๆ ที่คุณเห็นเวลาอ่านบทความบน Website แล้วล่ะก็ จะต้องรู้สึกคุ้นเคยกับมันอย่างแน่นอน

Call-to-Action-01

Call to Action ไม่ได้มีเพียงรูปแบบปุ่มเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่มีให้เลือกใช้หลากหลายตามความต้องการ อย่างเช่นกล่องข้อความ Banner หรือการกรอกแบบฟอร์ม

สิ่งเหล่านี้ถูกเรียกว่า Call to Action เป็นตัวการสำคัญที่ช่วยกระตุ้นการตัดสินใจให้ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม Website นั้นได้ Take Action หรือมี Engagement

เป็นการชี้นำให้ผู้เข้าชมได้รับรู้ว่า หลังจากรับสารที่ต้องการจะสื่อแล้ว สุดท้ายพวกเขาควรจะทำอะไรต่อ

ไม่ว่าจะเป็นการปิดการขาย การเก็บ Lead หา Subscriber ฯลฯ โดยใช้วิธีกล่อมให้พวกเขาคล้อยตามผ่านข้อความ หรือข้อเสนอต่างๆ อย่างเช่น “โทรหาเราได้ที่นี่” “สั่งซื้อเลย” “ดาวน์โหลดเลย” ฯลฯ

โดยเมื่อถึงพาร์ท Conclusion หรือสรุปจบ เราได้ทำการแนบ Call to Action ในรูปแบบของ Banner เพื่อจูงใจให้ผู้อ่าน Download “Web Checklist” เพื่อเป็นการเก็บ Lead มายัง Website Design & Development Service ของ Magnetolabs

โดย Journey ของผู้ชมที่เราคาดการณ์ไว้จะมีรูปแบบประมาณนี้

ผู้ชมอยากปรับปรุง Website >> อ่านบทความเกี่ยวกับการปรับปรุง Website >> เกิดข้อสงสัยว่า Website ของตัวเองดีพอหรือยัง >> Download Checklist เพื่อตรวจเช็ก Website ของตัวเอง

New call-to-action

Call to Action ที่ดีควรมีองค์ประกอบอย่างไร

แค่ดีไซน์ที่สวยงาม โดดเด่น อาจไม่เพียงพอที่จะดึงดูดสายตาของผู้เข้าชม เพราะ Call to Action ที่ดีนั้นควรมีองค์ประกอบที่บ่งบอกว่าสิ่งนี้สามารถ Take Action หรือคลิกเข้าไปได้

มาทำความเข้าใจ 3 องค์ประกอบที่ควรมีใน CTA ของคุณ เพื่อให้เด่นชัดและจูงใจให้คลิกเข้าไปมากยิ่งขึ้น

  • Copywriting จูงใจชวนให้คลิก

องค์ประกอบพื้นฐานของการสร้าง Call to Action นั้นก็คือ การเขียนข้อความ หรือ Copywriting สั้นๆ เพื่อจูงใจให้ผู้ชมอยากจะ Take Action โดยมากจะเป็นการใช้คำกริยาขึ้นต้นเพื่อให้เห็น Action และต่อท้ายด้วยการปรับให้เข้ากับสินค้าหรือบริการที่มีอีกต่อหนึ่ง

โดยไม่ควรเป็นข้อความที่ยาวมากจนเกินไป เพื่อที่แม้มองเห็นผ่านๆ ก็ยังสามารถเข้าใจได้ถึงข้อความที่ CTA ต้องการจะสื่อได้ทั้งหมด

เช่น “ลงทะเบียนเพื่อแลกรับสิทธิพิเศษ” “สั่งซื้อทันทีเพื่อรับส่วนลด 20%” “ทดลองใช้งานทันที” ฯลฯ

  • อย่าลืมใส่ใจ User Experience

อีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่จำเป็นสำหรับการสร้าง Call to Action ก็คือ ความเข้าใจใน User Experience

หากคุณจัดวาง CTA เอาไว้ที่บริเวณ Footer ผู้ชมก็อาจสังเกตเห็นได้ยาก หรือถ้าเอาไว้ด้านบนสุดของ Website พวกเขาก็อาจจะเลื่อนข้ามไปที่บทความโดยไม่ทันได้อ่าน

เพราะฉะนั้น ตำแหน่งของ CTA จึงควรอยู่ในจุดที่สะดุดตา และผู้ชมสามารถสังเกตเห็นได้ง่ายที่สุด เราจึงมักจะเห็น CTA นั้นวางอยู่ในช่วงกลางหน้า Website หรือเป็น Pop-Up เล็กๆ ที่มุมใดมุมหนึ่งอยู่เสมอ

  • องค์ประกอบที่สนับสนุนว่าสิ่งนี้คือ Call to Action

องค์ประกอบโดยรวมต้องทำให้ผู้ชมรับรู้ได้ว่าสิ่งนี้คือปุ่มที่พวกเขาสามารถ Take Action กับมันได้ หาก Call to Action ที่แสดงออกมานั้นไม่ชัดเจน ก็จะไม่เกิดการจูงใจให้ผู้ชมเกิดปฏิสัมพันธ์ด้วย

แนะนำให้สังเกตตัวอย่าง CTA ที่ไม่ชัดเจนจากภาพนี้

Call-to-Action-02

Image Source: CXL.com

จะเห็นได้ว่าตำแหน่งของ CTA นั้นจะอยู่ที่คำว่า “Add to Cart” แต่ด้วยขนาดของตัวอักษรที่มีขนาดเล็กกว่าตัว Product ค่อนข้างมาก และไม่ได้ Design มาในรูปแบบปุ่มหรือ Button ทำให้ CTA นี้ไม่มีความเด่นชัด

ซึ่ง Call to Action ที่ดีนั้นควรที่จะมีองค์ประกอบ ดังนี้

  • มองเห็นได้อย่างชัดเจน
  • สีสันโดดเด่นสะดุดตา
  • รูปแบบ หรืออักษรมีขนาดใหญ่พอ

โดยแนะนำให้สังเกตตัวอย่าง CTA ที่มีองค์ประกอบต่างชัดเจนได้ จากภาพนี้

Call-to-Action-03

Image Source: ZOOM.us

จากตัวอย่างหน้า Website ของ ZOOM จะสังเกตได้ว่ามี Copywriting ขนาดใหญ่ทำให้สามารถเข้าใจถึงคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ได้อย่างชัดเจนใน 3 บรรทัด โดยมีปุ่ม CTA สีส้มตัดกับสีขององค์ประกอบอื่นๆ ภายใน Website ทำให้ดูโดดเด่น สังเกตเห็นได้ง่าย

เทคนิคการทำ Call to Action ที่โดดเด่น เห็นแล้วต้องคลิก!

ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ Call to Action น่าคลิกนั่นก็คือ ความโดดเด่น

CTA ที่ไร้องค์ประกอบอันน่าสนใจ ก็ย่อมไม่กระตุ้นให้ผู้ชมรู้สึกอยากจะคลิกเข้าไป ทำให้ไม่สามารถคาดหวังผลลัพธ์ที่ต้องการได้อย่างแน่นอน

เรามาดูกันดีกว่าครับว่าจะมีเทคนิคใดที่ทำให้ CTA ของคุณมีความโดดเด่นน่าสนใจมากยิ่งขึ้น

  • ดึงความสนใจด้วย FOMO [Fear of Missing Out]

FOMO หรือ Fear of Missing Out คือเทคนิคที่เล่นกับความรู้สึกกลัวของผู้คน ให้ความรู้สึกว่าถ้าไม่คลิกตอนนี้ จะต้องพลาดอะไรบางอย่าง เป็นจิตวิทยาด้านการออกแบบที่ช่วยกระตุ้นให้เหล่าผู้ชมตัดสินใจได้เร็วขึ้น

โดยองค์ประกอบของการทำ Call to Action แบบ FOMO จะมีหลากหลายรูปแบบด้วยกัน โดยสามารถจำแนกคร่าวๆ ได้ดังนี้

  • มีการกำหนด หรือจำกัดระยะเวลา
  • แสดงจำนวนของผู้ที่กำลังสนใจซื้อสินค้า
  • สิทธิพิเศษแบบจำกัดจำนวนคน
  • แสดงจำนวนสินค้าที่เหลืออยู่
  • สินค้ามีความ Exclusive

ตัวอย่างของ FOMO CTA แบบมีการกำหนด หรือจำกัดระยะเวลา

Call-to-Action-04

Image Source: optimonster.com

จากตัวอย่างจะเห็นได้ว่า Pop-Up ดังกล่าวใช้การกำหนดระยะเวลาแบบนับถอยหลังในการรับ Coupon สำหรับการจัดส่งฟรี เพื่อสร้างความรู้สึกว่าหากไม่รีบคลิกภายในช่วงเวลานี้ ก็จะพลาดโอกาสนี้ไป

  • ใช้ Text ที่คลายความกังวลของผู้เข้าชม

Call to Action หลายๆ ตัวมักถูกใช้เพื่อนำเสนอสินค้า หรือบริการให้กับผู้ชมแบบฟรีๆ แต่บ่อยครั้งที่ไม่มีใครคลิกเข้าไป อาจเป็นเพราะว่าผู้ชมยังมีความกังวลใจในบริการที่ได้จาก CTA นั้นๆ เช่น “ฟรีจริงหรือไม่?” “จะมีการเรียกเก็บเงินทีหลังหรือเปล่านะ?”

เข้าถึงพวกเขา ด้วยการตอบคำถามเพื่อคลายข้อสงสัยที่พวกเขากังวลตั้งแต่แรก

Call-to-Action-05

Image Source: Netflix.com

จากตัวอย่าง CTA ของ Netflix ที่ใช้ข้อความเพื่อคลายความกังวลให้กับผู้ชมว่า “Watch Anywhere. Cancel Anytime.” ให้พวกเขารู้สึกว่า Subscribe แบบฟรีไป ก็สามารถยกเลิกได้ตลอดเวลา ไม่ต้องกลัวว่าจะเสียเงินเพิ่ม

หรือสังเกตอีกหนึ่งตัวอย่างจาก Spotify แอปพลิเคชัน Music Streaming ชื่อดัง

Call-to-Action-06

Image Source: Spotify.com

ถัดจาก Copywriting แล้ว พวกเขาได้ทำการแนะนำประโยชน์จากโปรแกรมของพวกเขาอย่างชัดเจน

  • Millions of songs and podcasts: มีเพลงและ Podcast นับล้านให้ฟัง
  • No credit card needed: ไม่จำเป็นต้องใช้บัตรเครดิต

และปิดท้ายด้วยคำว่า Get Spotify FREE เพื่อเป็นการชี้นำว่า “ถ้าอยากรับสิทธิพิเศษเหล่านี้” ก็สามารถ Download ได้เลยแบบฟรีๆ

  • บอก Action หรือ สิ่งที่จะได้รับอย่างตรงไปตรงมา

ในบางครั้ง Call to Action ก็ไม่ได้จำเป็นที่จะต้องใช้คำพูดจูงใจให้คลิกเสมอไป หากคุณสามารถตอบคำถามได้ว่า ผู้ชมที่เข้ามานั้นต้องการอะไร หรือคาดหวังสิ่งใด โดยเฉพาะเมื่อหน้า Website หรือบทความนั้นๆ ทำหน้าที่ของมันได้อย่างสมบูรณ์แบบแล้ว

การบอก Action หรือสิ่งที่ผู้เข้าชมจะได้รับตรงๆ จาก CTA นี้ จะช่วยให้พวกเขาสามารถตัดสินใจคลิกเข้าไปได้ง่ายดายขึ้น เช่น “Download Here” “Subscribe Here”

เรามาสังเกตตัวอย่าง CTA Banner จากนิตยสาร Glamour

Call-to-Action_09

Image Source: CrazyEgg.com

จะสังเกตได้ว่า CTA Banner ชิ้นนี้มีการใช้ Text ค่อนข้างมาก เพื่ออธิบายให้เห็นสิทธิประโยชน์ที่จะได้รับจากการ Sucscribe นิตยสารของพวกเขาอย่างตรงไปตรงมา ดังนี้

  • 12 months of print + tablet: รับนิตยสารแบบรูปเล่มตัวจริง และแบบ Digital รวม 12 เดือน
  • Immediate digital access: เมื่อ Subscribe แล้วรับสิทธิประโยชน์เหล่านี้ได้ทันที
  • Fast, convenient ordering: สั่งซื้อได้สะดวกและรวดเร็ว
  • Plus, get a $10 Amazon.com gift card FREE with your order!: เมื่อสั่งซื้อสินค้า รับฟรี! บัตรกำนัล 10$ สำหรับใช้ที่ Amazon.com

หากสิทธิประโยชน์เหล่านี้ตรงกับความต้องการของผู้เข้าชม จะมีโอกาสสูงมากที่จะดึงดูดให้พวกเขาทำการคลิกเข้าไป เทคนิคนี้จึงเหมาะสมเป็นอย่างมากสำหรับการแนะนำ หรือเสนอขายอย่างตรงไปตรงมา

Summary

ทั้งหมดนี้คือเทคนิคการสร้าง Call to Action ที่ครบองค์ประกอบ และโดนเด่นน่าสนใจ ซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสให้ผู้เข้าชมอยากคลิกมากขึ้น แม้ว่า CTA จะดูเหมือนเป็นเพียงเรื่องเล็กๆ แต่จริงๆ แล้วเป็นศาสตร์ที่ต้องให้ความสำคัญในระดับหนึ่ง ซึ่งหากทำได้ดี จะช่วยสร้างผลลัพธ์กับธุรกิจอย่างไม่น่าเชื่อ

หากคุณสนใจเกี่ยวกับการสร้าง Call to Action หรือมีข้อสงสัยเกี่ยวกับบทความนี้ สามารถติดต่อสอบถามเรา Magnetolabs ได้ที่นี่
New call-to-action

Author

Alongkorn Dernsantear

Digital Content Writer แห่ง Magnetolabs หลงใหลการเสพเรื่องราวผ่านภาพยนตร์และเกม ใฝ่ฝันว่าจะสร้างเรื่องราวของตัวเองออกไปเฉิดฉายบนจอภาพยนตร์ มีแหล่งพลังเป็นน้ำอัดลมและขนมเซเว่น
Digital Content Writer แห่ง Magnetolabs หลงใหลการเสพเรื่องราวผ่านภาพยนตร์และเกม ใฝ่ฝันว่าจะสร้างเรื่องราวของตัวเองออกไปเฉิดฉายบนจอภาพยนตร์ มีแหล่งพลังเป็นน้ำอัดลมและขนมเซเว่น

Related Blog

2 Comments

  • noppadol
    # ธันวาคม 9, 2020
    Reply

    CTA ใน website สวยพอดี แต่ในเมลที่ส่งมา ไม่ค่อยตาม concept เลยนะจ๊ะ

    • Suvajanee
      # ธันวาคม 9, 2020
      Reply

      สวัสดีค่ะ ขอบคุณที่มีข้อเสนอแนะสำหรับบทความของทาง Magnetolabs นะคะ
      สำหรับ Concept ของ CTA ใน email ที่ Magnetolabs ส่งไปนั้น เราได้เน้นไปที่สีของปุ่ม CTA เพื่อให้มองเห็นได้เด่นชัดค่ะ
      หากคุณ noppadol มีข้อสงสัย หรือต้องการเสนอแนะเพิ่มเติม สามารถติดต่อเข้ามาได้ที่ [email protected] ได้เลยค่ะ

Leave Your Comment